วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

มาตาธิปไตย

มาตาธิปไตย

ความหมาย

            ระบบวัฒนธรรมและการปกครองที่ให้เพศหญิงเป็นศูนย์กลาง ในการเป็นตัวแทนของความเสมอภาค ปัจจุบันมันคือความรักอย่างพี่น้องซึ่งเป็นตัวแทนหลักการของมนุษยนิยม เป็นความรักในมนุษย์คนอื่นทั้งหมด และหลักการของการเอาใจใส่ ความเมตตากรุณา และความรับผิดชอบต่อมนุษย์ทั้งมวลในหลักจริยธรรมความเสมอภาคของมวลมนุษย์ ความรักอย่างแม่, ในทางตรงข้าม, เป็นตัวแทนของการค่อยๆซึมซาบความรักเกี่ยวกับชีวิตในเด็ก มาที่ให้เพศหญิงเป็นศูนย์กลาง

ที่มา

                การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจากชายเป็นใหญ่ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เน้นการใช้ความรุนแรง การฆ่าฟัน การนองเลือด และจบลงด้วยความตาย มาสู่วัฒนธรรมแบบหญิงเป็นใหญ่ซึ่งอาจนับได้ว่าเป็นคู่ตรงกันข้าม คือ เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวพันกับการให้กำเนิด การเลี้ยงดู และความอ่อนหวาน ย่อมทำให้สังคมเป็นสังคมที่น่าอยู่และสงบสุขเป็นแน่แท้
                   แต่แนวคิดสตรีนิยมแบบวัฒนธรรมก็มีส่วนคล้ายคลึงกับแนวความคิดสตรีนิยมในยุคแห่งการรู้แจ้งอยู่บางประการ เช่น การสนับสนุนให้สตรีสามารถพึ่งพาและปกครองตนเองได้ มิใช่แค่การมีชีวิตผ่านชีวิตของผู้ชายที่เป็นเจ้าของเธอ และได้เพิ่มเติมความสำคัญของการเติบโตทางอินทรีย์ ที่จะทำให้สามรถเติบโตทางปัญญาได้ไว้ด้วย การเติบโตนี้อาจทำได้โดยการแยกตัวผู้หญิงออกจากสังคมชายเป็นใหญ่เพื่อให้พวกเธอได้สร้างสังคมของพวกเธอขึ้นมาเอง
                การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจากชายเป็นใหญ่ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เน้นการใช้ความรุนแรง การฆ่าฟัน การนองเลือด และจบลงด้วยความตาย มาสู่วัฒนธรรมแบบหญิงเป็นใหญ่ซึ่งอาจนับได้ว่าเป็นคู่ตรงกันข้าม คือ เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวพันกับการให้กำเนิด การเลี้ยงดู และความอ่อนหวาน ย่อมทำให้สังคมเป็นสังคมที่น่าอยู่และสงบสุขเป็นแน่แท้

                ในอีกด้านหนึ่งนั้น ผู้หญิงได้ถูกบีบคั้นให้กระตุ้นความสนใจผู้ชาย และด้วยเหตุดังนั้น ความถือตัว ท่าทีความหยิ่งทะนงของผู้หญิง โดยความต้องการอันหนึ่งที่จะดึงดูดใจผู้ชาย และความต้องการที่จะพิสูจน์ตัวของเธอเองว่า เธอสามารถที่จะกระตุ้นความสนใจ และเป็นคนที่มีเสน่ห์ต่อเพศตรงข้ามนั่นเอง

ลักษณะคำประพันธ์ของวรรณคดีไทยสมัยสุโขทัย

ปิตาธิปไตย

ปิตาธิปไตย

ความหมาย

                ระบบชายเป็นใหญ่ในสังคมซึ่งอยู่ในระบบสังคมไทยมาตั้งแต่สมัยก่อนในอดีต ยกย่องเพศชายมากกว่าเพศหญิง สังคมกำหนดบทบาทให้หญิงเป็นผู้ปรนนิบัติรับใช้ อาจกล่าวได้ว่าภายใต้ระบบปิตาธิปไตย ผู้หญิงจะโดนครอบงำและกดขี่ไว้

ที่มา

                ปัจจัยสำคัญที่สังคมไทยยกย่องและให้ความสำคัญต่อเพศชายมากกว่าเพศหญิงนั้น ก็น่าจะมีเหตุผลมาจากระบบการเกณฑ์แรงงานอีกเช่นกัน กล่าวคือไพร่จะได้รับการปลดประจำการ ในกรณีที่ครบเกษียณอายะ หรือถ้ายังอายุไม่ครบเกษียณแต่มีลูกชายมาทำงานแทนตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด 2 คน พ่อก็จะได้รับการปลดประจำการเช่นกัน ดังนั้นลูกชายจึงมีคุณค่าอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมต่อครอบครัวเพราะลูกชายช่วยปลดพ่อออกจากระบบเกณฑ์แรงงานได้
                อีกอย่างหนึ่ง งานที่ไพร่ชายทำนั้น ก็เป็นงานที่ต้องใช้กำลังกายอย่างหนักให้แก่มูลนาย ทั้งในสถานกรณีสงบและยามมีศึกสงคราม ซึ่งจะเห็นว่า ในทั้งสองกรณี มีความเสี่ยงภยันตรายมากกว่าการอยู่ที่บ้านเพื่อหาเลี้ยงปากท้องของผู้หญิง และเครือญาติที่ผู้หญิงดูแลอยู่ ซึ่งงานที่หญิงทำนั้นเป็นงานเพื่อความอยู่รอดของครอบครัว ในระหว่างที่ชายไม่อยู่บ้าน และในขณะเดียวกันก็เป็นแนวหลังที่อุดหนุนให้ชายสามารถมีเสบียงอาหารและกำลังวังชาที่จะไปทำงานรับใช้มูลนายได้

                สังคมในยุคแรกๆ จำเป็นต้องอาศัยพละกำลังของเพศชายในงานเกษตรกรรม รวมทั้งการปกป้องคุ้มครองภัยอันตรายที่จะมาถึงควาย ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงที่เป็นกำลังพื้นฐานสำคัญของการทำนาก็ดี การปกป้องคุ้มครองชีวิตร่างกายและทรัพย์สินอื่นๆของครอบครัวและชุมชนให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายก็ดี จึงทำให้เพศชายมีคุณค่าต่อสังคม สถานะของผู้หญิงจึงถูกทำให้ด้อยกว่าผู้ชาย อีกทั้งการจำกัดพื้นที่ของหญิงที่ดีไว้เพียงพื้นที่ของครอบครัวเช่น บ้านและครัว ตลอดจนถึงการแบ่งความเป็นหญิงดี และหญิงไม่ได้ไว้ด้วย

วรรณกรรมและเหตุผลสำคัญที่ทำให้วรรณกรรมเจริญรุ่งเรือง

วรรณกรรมไทยยกย่องช่วงเวลาสมันรัชกาลที่ 2  ว่าเป็นยุคทองของวรรณคดีไทยเนื่องจากวรรณกรรมสมัยนี้มีคุณค่าทางวรรณศิลป์สูงส่ง

                เหตุผลสำคัญที่ทำให้การส่งเสริมวรรณกรรมประสบผลสำเร็จอาจประมวลได้ดังนี้

1.พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระปรีชาด้านอักษรศาสตร์อย่างแท้จริง ทรงศึกษาอักษรศาสตร์จากพระอาจารย์ผู้มีชื่อเสียง คือ สมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่) วัดระฆัง ประกอบกับทรงสนพระราชหฤทัยจริงจังในพระราชกรณียกิจนี้ด้วย ทำให้งานส่งเสริมวรรณกรรมเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
นอกจากจะทรงสนพระทัยวิชาอักษรศาสตร์แล้ว ยังทรงสนพระทัยศิลป์ด้านอื่นๆ อันเป็นเหตุเกื้อหนุนวรรณคดีเป้นอย่างมากด้วย กล่าวคือเมื่อทรงส่งเสริมดนตรี บทขับร้องและบทเสภาก็พลอยได้รับการส่งเสริม การละครก็เช่นกัน วรรณกรรมบทละครเจริญสูงสุดสมัยนั้นก็เพราะการส่งเสริมการละครทั้งละครและละครในนั้นเอง
2.การส่งเสริมวรรณกรรมสมัยนั้นกระทำอย่างมีระเบียบแบบแผนและถูกต้องตามหลักวิชาการ กล่าวคือได้จัดตั้งวงกวีขึ้นในราชสำนัก มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นองค์ประธานประกอบด้วยหลักกวีสำคัญๆอีกเป็นอันมาก งานวรรณกรรมเรื่องใหญ่ๆถูกจัดสรรให้กวีรับไปแต่งตามความถนัดของตน และเมื่อแต่งแล้วยังโปรดให้นำมาอ่านให้ที่ประชุมวิจารณ์อีก อาจกล่าวได้ว่าการวิจารณ์วรรณกรรมไทยได้เริ่มต้นขึ้นในสมัยนั้น เมื่อกวีสร้างวรรณกรรมขึ้นตามขั้นตอนดังกล่าว วรรณกรรมจึงมีคุณภาพทางวรรณศิลป์อย่างแท้จริง
3.การส่งเสริมวรรณกรรมสมัยนั้นมีรากฐานสำคัญจากการฟื้นฟูศิลป์วัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 1 คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงรวบรวมวรรณกรรมเก่าอย่างจริงจัง และทรงนำวรรณกรรมสำคัญมาชำระ ปรับปรุงและแต่งใหม่ ทำให้วรรณกรรมเรื่องและรายละเอียดต่างๆ อย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ การส่งเสริมวรรณคดีในสมัยรัชกาลที่ 2 จึงตัดภาระเรื่องการสืบหาต้นฉบับการลำดับเนื้อเรื่องและรายละเอียดไปได้กวีในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้เลือกคัดวรรณกรรมที่รวบรวมและเรียบเรียงเป็นระเบียบแล้วนั้นมาปรับปรุงคุณภาพทางวรรณศิลป์ เรื่อง อิเหนา และรามเกียรติ์ เป็นต้น
การถ่ายทอดวรรณกรรมพงศาวดารจีนสมัยรัชกาลที่ 1 เช่น เรื่องสามก๊กและไซฮั่น มีส่วยสำคัญต่อการส่งเสริมวรรณคดีสมัยต่อมาเป็นอันมาก คือกวีได้เห็นแบบอย่างและศิลปะการแต่งวรรณกรรมต่างชาติ นำมาเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพวรรณกรรมของเราด้วย
อนึ่ง การฟื้นฟูและส่งเสริมวรรณกรรมสมัยรัชกาลที่ 1 ได้รวบรวมและแต่งหนังสือไว้เป็นอันมาก เป็นผลให้ประชาชนต้องมีการศึกษา เห็นความสำคัญของหนังสือและรักการอ่านมากขึ้น การสร้างพื้นฐานด้านการศึกษาและการอ่านดังกล่าว นับว่าเป็นรากฐานสำคัญที่ช่วยการส่งเสริมวรรณกรรมสมัยรัชกาลที่ 2 ประสบความสำเร็จ
4.สถานการณ์บ้านเมืองและสิ่งแวดล้อมด้านอื่นเอื้ออำนวยการส่งเสริมวรรณคดีสมัยรัชกาลที่ 2 เป็นอันมาก  เช่น การสงครามยืดเยื้อระหว่างไทยกับพม่าสิ้นสุดลงตั้งแต่ต้นรัชกาลอีกประการหนึ่งรัชกาลที่ 1 ได้ทรงจัดระเบียบและวางแผนงานบริหารบ้านเมืองไว้เป็นอย่างดีแล้ว จึงลดพระราชภารกิจด้านการบริหารราชการลงเป็นอันมาก ประกอบกับเจ้านายชั้นสูงเป็นจำนวนมากเจริญพระชันษาแล้วได้ทรงช่วยแบ่งเบาพระราชกรณียกิจการบริหารบ้านเมืองด้านต่างๆ เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีโอกาสส่งเสริมวรรณคดีอย่างเต็มที่
5.สมัยรัชกาลที่ 2 มีกวีเด่นๆเป็นจำนวนมาก (เป็นผลมาจากการฟื้นฟูวรรณกรรมสมัยรัชกาลที่ 1 ด้วย ) และกวีเด่นดังกล่าวมีความสามารถเฉพาะตัวต่างๆกัน ทำให้งานสร้างสรรค์วรรณคดีสมัยนั้นเป็นงานที่หลากหลายในประเภทของวรรณกรรม คือมีวรรณกรรมประเภทต่างๆมากมาย และวรรณกรรมแต่ละประเภทมีความงามพิเศษตามความถนัดของกวีด้วย เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ทรงถนัดพระราชนิพนธ์กลอนละคร กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงถนัดด้านโคลงและฉันท์ พระยาตรังค์ ฯ ถนัดด้านโคลงดั้น นายนรินทรธิเบศร์ทางโคลงสุภาพ และสุนทรภู่ถนัดทางกลอนทั่วไป เป็นต้น กวีดังกล่าวเป็นกวีที่มีความรู้และความสามารถสูงทั้งสิ้น งานวรรณคดีประเภทต่างๆตามความถนัดของกวีจึงมีคุณภาพสูงส่งเป็นที่ยอมรับจนทุกวันนี้
เหตุผลทั้ง 5 ประการข้างต้นนั้น เป็นเพียงตัวอย่างของปัจจัยที่เกื้อหนุนให้การส่งเสริมคุณภาพของวรรณกรรมสมัยรัชกาลที่ 2 เป็นผลสำเร็จ

กวีสมัยรัชกาลที่ 2 มีหลากหลายท่านที่ปรากฏซื่อเด่นมากคือ

1.พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
2.กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
3.สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า  กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
4.พระยาตรังคภูมิบาล
5.พระสุนทรโวหาร(ภู่)
6.นายนรินทรธิเบศร์ (อิน)

นอกจากนั้น ยังมีกวีไม่ปรากฏนาม แต่มีผลงานที่น่าสนใจอีกส่วนหนึ่งด้วย
บทความอื่น